บริการ
1.Soil Boring & Rock Coring / เจาะสำรวจชั้นดิน, เจาะสำรวจชั้นหิน
2.Concrete Coring for testing / เจาะคอนกรีตเพื่อทดสอบ
3.Construction Material testing in Laboratory
ทดสอบคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างในห้องทดสอบ
Soil Testing (งานทดสอบดินในห้องทดลอง)
1. Atterberg Limit
2. Sieve analysis
3. Hydrometer
4. Soil Compaction
5. California Bearing Ratio, CBR
6. Los Angeles Abrasion Test
7. Soil Permeability
8. Consolidation Test
9. Unconfined Compression Test
10. Direct Shear Test
11. Triaxial Test, UU, CU and CD Test
Concrete Testing (ทดสอบคอนกรีต)
Steel Test (ทดสอบเหล็ก)
อุปกรณ์
1.เครื่องเจาะสำรวจแบบหัวหมุน(Rotary Boring Machine)
2.โครงสามขา
3.ก้านเจาะ (Drill Rod)
4.เครื่องสูบน้ำ (Water Pump)
5.กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง (Thin wall Sampler Ø 75 mm. x 750 mm.
6.ชุดทั่งตอกและเหล็กนำ (Drive Weight 140 lbs)
7.กระบอกผ่า Ø 1 ½ ”
8.ก้านเจาะพร้อมข้อต่อ (Casing)
9.อุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เช่น ค้อน,ประแจ
ขั้นตอนการทำงาน
1.การเจาะหลุมเจาะปฏิบัติการโดยใช้ชุดเครื่องเจาะแบบหัวหมุน และปรับระยะอุปกรณ์การเจาะต่างๆให้เรียบร้อย
2.การเจาะหลุมเจาะในชั้นดิน จะใช้ท่อกันดินขนาดพอเหมาะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5-10 ซม. การเจาหลุมเจาะจะใช้การเจาะแบบฉีดล้างเป็นหลัก ในระหว่างทำการเจาะลึกลงไปจะทำการป้องกันหลุมเจาะให้ใช้ท่อเหล็กไม่ให้ดินถล่ม.
3.การเจาะสำรวจชั้นดิน จะหยุดการเจาะก็ต่อเมื่อพบอย่างใดอย่างหนึ่งตามรายการดังนี้. ได้ตามความลึกที่ต้องการตามที่ระบุไว้ ชั้นหิน หรือกรวด หรือ ชั้นดินแข็งมาก
4.Standard Penetration Test (SPT) มากกว่า 50 Blows /6″ หรือค่า SPT รวมกันมากกว่า 100 Blows ในกรณีที่วัดเป็น Partial Increment (คือวัดค่าได้ 100 Blows ในขณะที่ตอกกระบอกผ่าจมดินได้ไม่ถึง 18 นิ้ว) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
5.เก็บตัวอย่างชั้นดินที่ทุกๆ 0.5m.ในระยะ3.00 ม.แรกและหลังจากนั้นจะเก็บตัวอย่างที่ทุกๆ 1.50 ม. จึงถึงระดับดินลึกที่ต้องการ โดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง.หรือกระบอกผ่า
6.ทดสอบการทะลุทะลวง แบบมาตรฐาน ( Standard Penetration Test (SPT)) จะทำการทดสอบที่ระยะทุกๆ 0.50 ม. ในระยะ3.00 ม.แรก หลังจากนั้นทดสอบอีกที่ทุกระยะ 1.5 ,จึงถึงชั้นดินที่ต้องการ.
7.การวัดระดับน้ำใต้ดิน จะทำหลังเจาะหลุมเจาะเรียบร้อย 24 ชม.
8.การทดสอบตัวอย่างดินที่เก็บจากสนามจะทำการทดสอบตัวอย่างในห้องทดลองดังต่อไปนี้
1.วิธีการและขั้นตอนการเจาะ, การเก็บตัวอย่างในสนามและการทดสอบในห้องทดลอง.
2.กราฟแสดงชั้นดินและคุณสมบัติต่างๆ (Boring Log)
3.สรุปผลข้อแนะนำกำลังต้านทานของดินในส่วนโครงสร้างของฐานรากตื้น,เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ
4.สรุปผลการทดสอบในห้องทดลองต่าง
5.ตำแหน่งที่ตั้งสำหรับเจาะ
6.สำรวจรายการคำนวณ และ ทฤษฏี
มาตราฐานอ้างอิง
ขั้นตอนการทดสอบจะสอดคล้องและอ้างอิงตามมาฐาน ASTM
ตัวอย่าง จาก เว๊ป คู่มือวิศวกรรมฐานราก
ผลการเจาะสำรวจ หรือ Boring Log เป็นการบรรยายกระบวนการสำรวจ และสภาพใต้ผิวดินที่เจอในระหว่างการเจาะดิน
การเก็บตัวอย่าง และการเจาะหิน ผลการเจาะสำรวจที่ดีควรประกอบด้วยข้อมูล ได้แก่ พิกัดหลุมเจาะและระดับปากหลุม
วิธีการเจาะและของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม การระบุชั้นดินและชั้นหินรวมถึงความหนาแน่น ความหลวม-แน่น
ความอ่อน-แข็ง สี ปริมาณความชื้น โครงสร้าง แหล่งที่มาทางธรณีวิทยา ความหนาของแต่ละชั้น ผลทดสอบ SPT
และ/หรือ CPT ผลทดสอบอื่น ๆ เช่น VST PMT ช่วงความลึกในการเก็บตัวอย่าง ชนิดกระบอกเก็บตัวอย่าง
ความยาวของตัวอย่างที่เก็บได้ หมายเลขการเจาะเก็บแท่งตัวอย่างหิน ค่า Core Recovery ค่า RQD
การสูญเสียของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม ระดับน้ำใต้ดิน วันและเวลาที่เริ่มทำการเจาะสำรวจจนแล้วเสร็จ
แน่นอนว่ามาตรฐานและรูปแบบของแต่ละบริษัทรับเหมาเจาะสำรวจไม่เหมือนกันครับ
#วิศวกรรมฐานราก #ปฐพีกลศาสตร์ #คู่มือวิศวกรรมฐานราก #วิศวกรรมปฐพี #การเจาะสำรวจ