Our Service

pic02_B.gif (40 KB)

อุปกรณ์

1.เครื่องเจาะสำรวจแบบหัวหมุน(Rotary Boring Machine) 

2.โครงสามขา

3.ก้านเจาะ (Drill Rod)

4.เครื่องสูบน้ำ (Water Pump)

5.กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง (Thin wall Sampler Ø 75 mm. x 750 mm.

6.ชุดทั่งตอกและเหล็กนำ (Drive Weight 140 lbs)

7.กระบอกผ่า Ø 1 ½ ”

8.ก้านเจาะพร้อมข้อต่อ (Casing)

9.อุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เช่น ค้อน,ประแจ

ขั้นตอนการทำงาน

1.การเจาะหลุมเจาะปฏิบัติการโดยใช้ชุดเครื่องเจาะแบบหัวหมุน และปรับระยะอุปกรณ์การเจาะต่างๆให้เรียบร้อย

2.การเจาะหลุมเจาะในชั้นดิน จะใช้ท่อกันดินขนาดพอเหมาะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5-10 ซม. การเจาหลุมเจาะจะใช้การเจาะแบบฉีดล้างเป็นหลัก ในระหว่างทำการเจาะลึกลงไปจะทำการป้องกันหลุมเจาะให้ใช้ท่อเหล็กไม่ให้ดินถล่ม.

3.การเจาะสำรวจชั้นดิน จะหยุดการเจาะก็ต่อเมื่อพบอย่างใดอย่างหนึ่งตามรายการดังนี้. ได้ตามความลึกที่ต้องการตามที่ระบุไว้ ชั้นหิน หรือกรวด หรือ ชั้นดินแข็งมาก

4.Standard Penetration Test (SPT) มากกว่า 50 Blows /6″ หรือค่า SPT รวมกันมากกว่า 100 Blows ในกรณีที่วัดเป็น Partial Increment (คือวัดค่าได้ 100 Blows ในขณะที่ตอกกระบอกผ่าจมดินได้ไม่ถึง 18 นิ้ว) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

  • ตารางแสดงค่า SPT 

  • 22.png (58 KB)

5.เก็บตัวอย่างชั้นดินที่ทุกๆ 0.5m.ในระยะ3.00 ม.แรกและหลังจากนั้นจะเก็บตัวอย่างที่ทุกๆ 1.50 ม. จึงถึงระดับดินลึกที่ต้องการ โดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง.หรือกระบอกผ่า

6.ทดสอบการทะลุทะลวง แบบมาตรฐาน ( Standard Penetration Test (SPT)) จะทำการทดสอบที่ระยะทุกๆ 0.50 ม. ในระยะ3.00 ม.แรก หลังจากนั้นทดสอบอีกที่ทุกระยะ 1.5 ,จึงถึงชั้นดินที่ต้องการ.

7.การวัดระดับน้ำใต้ดิน จะทำหลังเจาะหลุมเจาะเรียบร้อย 24 ชม.

8.การทดสอบตัวอย่างดินที่เก็บจากสนามจะทำการทดสอบตัวอย่างในห้องทดลองดังต่อไปนี้

122.jpg (122 KB)

สรุปผลรายงาน

รายงานผลการเจาะสำรวจชั้นดินจะรางานผลต่างๆ ประกอบไปด้วยดังนี้:

1.วิธีการและขั้นตอนการเจาะ, การเก็บตัวอย่างในสนามและการทดสอบในห้องทดลอง.

2.กราฟแสดงชั้นดินและคุณสมบัติต่างๆ (Boring Log)

3.สรุปผลข้อแนะนำกำลังต้านทานของดินในส่วนโครงสร้างของฐานรากตื้น,เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ

4.สรุปผลการทดสอบในห้องทดลองต่าง

5.ตำแหน่งที่ตั้งสำหรับเจาะ

6.สำรวจรายการคำนวณ และ ทฤษฏี

มาตราฐานอ้างอิง
ขั้นตอนการทดสอบจะสอดคล้องและอ้างอิงตามมาฐาน ASTM 

  • ASTM D 1586
  • ASTM D 1587

ตัวอย่าง จาก เว๊ป คู่มือวิศวกรรมฐานราก

ผลการเจาะสำรวจ หรือ Boring Log เป็นการบรรยายกระบวนการสำรวจ และสภาพใต้ผิวดินที่เจอในระหว่างการเจาะดิน

การเก็บตัวอย่าง และการเจาะหิน ผลการเจาะสำรวจที่ดีควรประกอบด้วยข้อมูล ได้แก่ พิกัดหลุมเจาะและระดับปากหลุม

วิธีการเจาะและของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม การระบุชั้นดินและชั้นหินรวมถึงความหนาแน่น ความหลวม-แน่น

ความอ่อน-แข็ง สี ปริมาณความชื้น โครงสร้าง แหล่งที่มาทางธรณีวิทยา ความหนาของแต่ละชั้น ผลทดสอบ SPT

และ/หรือ CPT ผลทดสอบอื่น ๆ เช่น VST PMT ช่วงความลึกในการเก็บตัวอย่าง ชนิดกระบอกเก็บตัวอย่าง

ความยาวของตัวอย่างที่เก็บได้ หมายเลขการเจาะเก็บแท่งตัวอย่างหิน ค่า Core Recovery ค่า RQD

การสูญเสียของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม ระดับน้ำใต้ดิน วันและเวลาที่เริ่มทำการเจาะสำรวจจนแล้วเสร็จ

แน่นอนว่ามาตรฐานและรูปแบบของแต่ละบริษัทรับเหมาเจาะสำรวจไม่เหมือนกันครับ

#วิศวกรรมฐานราก #ปฐพีกลศาสตร์ #คู่มือวิศวกรรมฐานราก #วิศวกรรมปฐพี #การเจาะสำรวจ

123.jpg (166 KB)